ถาม - ตอบ โครงการแลกเปลี่ยน J-1

 สำหรับวีซ่านักเรียน (Student Visa) มี 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. F-1 โดยทั่วไป เป็นวีซ่าที่ออกให้นักเรียนทุนส่วนตัว หรือนักเรียนที่ไม่มีข้อผูกพันที่ต้องเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดหลังสำเร็จการศึกษาหรือฝึกอบรม ตามเอกสาร I-20

 2. J-1 คือ วีซ่าสำหรับผู้ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา/ฝึกอบรมตามที่ระบุใน DS-2019 แล้ว มีภาระผูกพันที่จะต้องเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด

 3. M-1 คือวีซ่าสำหรับนักเรียนสายวิชาชีพ





ทำความเข้าใจโครงการแลกเปลี่ยนก่อนการเดินทาง โครงการแลกเปลี่ยน (SEP PORGRAM)

  1. ทำไมถึงเรียกว่า “โครงการแลกเปลี่ยน”?

เนื่องจากโครงการเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเน้นการไปศึกษาภาษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ในต่างประเทศดังนั้นทุกคนที่เข้าร่วมโครงการถือว่าเป็นเยาวชน เป็นตัวแทนของนักเรียนในคนไทย โดยที่นักเรียน ทุกคนต้องประพฤติตัวดี มีมารยาทที่ดีสม่ำเสมอ และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยเมื่อมีโอกาสร่วมกันสร้างความเข้าใจอันดีงามระหว่างประเทศต่อสังคม ผู้คนรอบข้าง ฯ

   2.   การเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนแตกต่างจากโครงการศึกษาต่อต่างประเทศทั่วไปอย่างไรโครงการแลกเปลี่ยนเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ซึ่งนักเรียนจะได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน หรือจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเล็กน้อย(ในบางกรณี) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Grade 10 – 12) อีกทั้งยังมีครอบครัวอุปถัมภ์หรือที่ทุกคนเรียกกันติดปาก ว่าโฮส (Host Family) จัดหาที่พักและอาหาร (มื้อเช้า และเย็น) และเป็นผู้ปกครองนักเรียนตลอดระยะเวลาในโครงการ โดยองค์กรรับในต่างประเทศจะเป็นผู้จัดหาโรงเรียนและครอบครัวอาสาสมัครดังกล่าวให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละราย

  3. ค่าใช้จ่ายระหว่างโครงการแลกเปลี่ยนและโครงการศึกษาต่อต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร?แตกต่างกันมาก นักเรียนต้องสมทบทุนโครงการแลกเปลี่ยนประมาณ 10,000 – 15,000 USD ต่อปีการศึกษา (แล้วแต่ประเทศ) ในขณะที่นักเรียนอาจต้องใช้ถึง 20,000 – 35,000 USD ต่อปีการศึกษา กรณีเลือกไปศึกษาต่อเอง แต่มีข้อดีคือนักเรียนสามารถเลือกโรงเรียน (เอกชนหรือรัฐบาล) รัฐ และ ที่พัก (อยู่หอหรือ home stay) ได้ตามความต้องการ

  4.  นักเรียนสามารถเลือกรัฐ สถานศึกษา และโฮสในประเทศเจ้าบ้านได้หรือไม่ ?ไม่ได้  เนื่องจากโรงเรียนและโฮส จะเป็นผู้เลือกนักเรียนเอง ดังนั้นองค์กรในต่างประเทศจะพยายามอย่างดีที่สุดในการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ และโรงเรียนดังกล่าวที่เหมาะสมให้แก่นักเรียน

  5.   นักเรียนจะได้เรียนในชั้นเรียนในระดับใด (Grade Level)? โดยปกติถ้าเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แอฟริกาใต้แคนาดา หรือนิวซีแลนด์ นักเรียนจะได้เรียนในชั้นเรียนถัดไป (เช่นเรียนจบชั้นม. 4ในเมืองไทย เมื่อไปต่างประเทศ นร. จะถูกจัดให้เข้าเรียนชั้น ม.5 เป็นต้น) แต่บางครั้งนักเรียนอาจถูกลดชั้นก็ได้ หากโรงเรียนเห็นว่านักเรียนมีภาษาอ่อนมาก เช่นบางโรงเรียนอาจจะทดสอบภาษาอีกครั้งเมื่อนักเรียนเดินทางไปถึง หรือบางประเทศ เช่นญี่ปุ่น นักเรียนส่วนใหญ่จะถูกลดชั้นเรียน ด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษา

  6.    นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าต้องลงเรียนวิชาอะไรบ้าง? ให้ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาที่โรงเรียน ส่วนใหญ่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ จะจัดให้เรียนประมาณ 7 วิชา แบ่งเป็นวิชาบังคับ 1 – 2 วิชา ขอยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบังคับให้เรียนวิชาประวัติศาสตร์อเมริกัน และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือประมาณ 5 วิชา นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด *ซึ่งควรเลือกเรียนตามความจำเป็นที่เราสามารถนำกลับมาใช้ในการขอเทียบชั้นเรียนในเมืองไทยต่อไป หากเป็นประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศสนั้นขึ้นอยู่กับระเบียบและกฎเกณฑ์ ของสถานศึกษาแต่ละแห่ง

  7.  หากพบว่านักเรียนคนใดมีผลเรียนตกต่ำ โดยโรงเรียนพิจารณาให้นักเรียนต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? นักเรียนและผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ซึ่ง บริษัทฯ จะประสานงานแจ้งให้ท่านทราบเป็นกรณีไป

  8.  ในการขอเทียบชั้นเรียนนั้น สามารถทำได้หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์อย่างไร? ทำได้ และนักเรียนควรปรึกษาบุคคลในสถานศึกษาของตนในเมืองไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีหลักการและแนวปฏิบัติการเทียบชั้นการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษาเดิมเป็นหลัก ว่านักเรียนต้องซ้ำชั้นหรือไม่

  9.    ควรจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าใดต่อเดือนให้กับบุตรหลานของท่าน? นักเรียนควรมีค่าใช้จ่ายประมาณ 150 – 300 USD เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวประจำเดือน สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ อาหาร  กลางวันที่โรงเรียน ค่าเข้าร่วมกิจกรรม ชมรมต่างๆที่โรงเรียน และฯลฯ

10.     หากต้องการจะเปลี่ยนโฮส จะสามารถทำได้หรือไม่ ? องค์กรในต่างประเทศจะพิจารณาตามดุลยพินิจที่เหมาะสม ทั้งนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนได้หากนักเรียนมีเหตุผลดังต่อไปนี้เช่น ไม่ชอบ ไม่อยากอยู่ในเมืองเล็กๆ เพราะชนบทไป หรือเพราะอยากไปอยู่รัฐอื่น ไม่ชอบคนสีผิวดำ หรือไม่ชอบอาชีพของโฮสฯลฯ เหล่านี้เป็นความต้องการส่วนบุคคล ซึ่งหากต้องการอย่างนี้นักเรียนไม่ควรเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและควรตัดสินใจใหม่ตั้งแต่บัดนี้ เนื่องจากการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนนั้น มีกฎระเบียบมากมายบังคับ ดังนั้นนักเรียนควรเลือกไปแบบส่วนตัวซึ่งเลือกได้ตามใจชอบ

11.    นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าจะได้โฮสเมื่อใด? ในกระบวนการในการหาโฮสมีหลายขั้นตอน องค์กรที่จะรับโฮส ต้องจัดส่งข้อมูลนักเรียนเพื่อให้โฮสพิจารณาจะรับ ในเวลาเดียวกันไม่มีนักเรียนแลกเปลี่ยนเฉพาะประเทศไทย เวลาจะได้โฮสช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับ Application ว่านักเรียนส่งช้าหรือเร็ว โฮสจะได้ทุกคนก่อนเดินทางโดยปกติจะรู้ประมาณ 1 – 2 เดือนก่อนเดินทาง แต่จะมีบาง Case รู้ก่อนเดินทาง

12.   ควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการพักอยู่กับโฮส? โฮส เป็นครอบครัวอาสาสมัคร ซึ่งมิได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลที่บุคคลเหล่านี้มีความสนใจหลากหลายในวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆและมีความใจกว้างในการเปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนได้มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน เพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน ดังนั้นควรปฏิบัติตัวเสมือนสมาชิกในครอบครัว มีกิจกรรมร่วมอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเหลือหน้าที่ในบ้านตามสมควร พยายามเปิดใจสู่วัฒนธรรมใหม่ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ให้มากที่สุด


    



              


                                             

 

Visitors: 260,694