ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา

ระบบการศีกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา
นักศึกษาต้องทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาของประเทศนี้ก่อน เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเลือกโรงเรียนและวางแผนการศึกษาของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะเด่นของระบบการศึกษาขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนมีหลายขนาดตั้งแต่ห้องเลคเชอร์ขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษาหลายร้อยคนเข้าเรียนไปจนถึงห้องเรียนขนาดเล็กและห้องสัมมนา(ห้องประชุม) ที่มีนักศึกษาเพียงแค่สองสามคนเท่านั้น บรรยากาศการศึกษาในห้องเรียนของชาวอเมริกันนั้น นักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน ซึ่งนักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าตื่นใจที่สุดของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานและอ่านหนังสือทุกอาทิตย์ นักศึกษาจะต้องทำการบ้าน อ่านหนังสืออยู่ตลอดเพื่อที่จะสามารถทำความเข้าใจกับคำบรรยายและมีส่วนร่วมในการสนทนาในชั้นเรียนได้ และในบางครั้งนักศึกษาต้องเข้าใช้ห้องแลปในการศึกษาของบางหลักสูตรวิชาอีกด้วย

 อาจารย์ผู้สอนจะให้เกรดนักศึกษาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้:
 
  • อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านจะมีเกณฑ์ให้คะแนนด้านการมีส่วนร่วมในห้องเรียนไม่เหมือนกัน นักศึกษาจะได้คะแนนผ่านการมีส่วนร่วมในบทสนทนาภายในชั้นเรียนโดยเฉพาะในห้องสัมมนา ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการตัดสินให้คะแนน
  • การสอบกลางภาค ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาในช่วงการทำการเรียนการสอน
  • การรวบรวมส่งงานวิจัย การเรียบเรียงภาคนิพนธ์ หรือการส่งรายงานแลปอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อการประเมินผล
  • การสอบย่อย หรือการตอบคำถามในชั้นเรียน บางครั้งอาจารย์ผู้สอนจะให้นักศึกษาทำข้อสอบหรือตอบคำถามให้ห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและคอยทำการบ้านที่ให้ไว้อยู่ตลอด
  • การสอบปลายภาค หลังจากการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของชั้นเรียน

หน่วยกิต
  • หลักสูตรวิชาหนึ่งจะมีหน่วยกิตเป็นตัวเลขหนึ่งจำนวนหรือเป็นจำนวนชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาทำการเรียนภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่หนึ่งหลักสูตรวิชาจะเท่ากับสามถึงห้าหน่วยกิต
  • หลักสูตรเต็มเวลาในโรงเรียนส่วนใหญ่จะมี 12-15 หน่วยกิตชั่วโมง (สี่หรือห้าหลักสูตรวิชาต่อหนึ่งเทอม) และนักศึกษาต้องเข้าทำการศึกษาให้ได้จำนวนหน่วยกิตที่กำหนดเพื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาชาวต่างชาติต้องศึกษาในหลักสูตรเต็มเวลาเท่านั้น
  • การโอนย้าย นักศึกษาที่ย้ายไปทำการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งใหม่สามารถโอนย้ายหน่วยกิตที่ได้จากมหาวิทยาลัยเดิมมาใช้ในที่ใหม่ได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงสามารถย้ายมหาวิทยาลัยและสำเร็จการศึกษาภายในเวลาที่เหมาะสมได้

โครงสร้างการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา:

โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

            ก่อนที่นักศึกษาจะสามารถเข้าทำการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นสูง (Higher education) ได้นั้น นักศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาก่อน ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 12 ปี ชาวอเมริกันเรียกแต่ละปีเหล่านี้ว่า “เกรด” มีตั้งแต่เกรดหนึ่งไปจนถึงเกรดสิบสอง เด็กนักเรียนชาวอเมริกันเริ่มต้นเข้ารับการศึกษาเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ โดยเริ่มศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาก่อนหรือที่เรียกกันว่า “Elementary school”ใช้เวลาศึกษาในระดับนี้ทั้งหมดห้าถึงหกปีแล้วจึงสามารถเข้าทำการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

            โรงเรียนมัธยมศึกษาหรือSecondary school มีสองหลักสูตรด้วยกัน หลักสูตรแรกคือ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือที่เรียกกันว่า “Middle school” หรือ “Junior high school” หลักสูตรที่สองคือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ High school และนักศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรก็ต่อเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากนั้นนักศึกษาจึงสามารถสมัครเข้าทำการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งเรียกกันว่า“Higher education”

ระบบการให้เกรด

             นักศึกษาชาวต่างชาติต้องแนบใบประเมินผลการศึกษาของตนพร้อมกับใบสมัครเข้าวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาให้เหมือนกับนักศึกษาชาวอเมริกันคนอื่น ๆ ซึ่งใบประเมินผลการศึกษานี้จะเป็นเอกสารหลักในการแสดงผลการศึกษาของนักศึกษา ได้แก่ เกรดและเกรดเฉลี่ย (GPA) ซึ่งเป็นตัววัดผลการศึกษาของนักศึกษา และการให้เกรดในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นจะให้เป็นเปอร์เซ็น และจำนวนเปอร์เซ็นจะถูกผันแปรเป็นเกรดแบบตัวอักษร

             บางครั้งระบบการให้เกรดและเกรดเฉลี่ย (GPA) ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีความยุ่งยากซับซ้อนและทำให้นักศึกษาสับสน โดยเฉพาะกับนักศึกษาชาวต่างชาติ อีกทั้งมีการผันแปรเกรดด้วย ตัวอย่างเช่น มีนักศึกษาสองคนสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาคนละแห่ง ทั้งคู่ยื่นใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยพร้อมกันและมีเกรดเฉลี่ยเท่ากันคือ 3.5 GPAs แต่นักศึกษาคนหนึ่งสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาธรรมดา แต่นักศึกษาอีกคนสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิชาการ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยอาจจะมองดูเกรดเฉลี่ยในใบประเมินผลการศึกษาและให้คะแนนนักศึกษาทั้งสองคนต่างกัน เนื่องจากทั้งสองคนมาจากโรงเรียนที่มีมาตรฐานทางการศึกษาไม่เหมือนกัน

 ดังนั้น นักศึกษาควรจดจำสิ่งที่สำคัญดังต่อไปนี้:
  1. นักศึกษาควรรู้ว่าวุฒิการศึกษาที่เรียนจบมาจากประเทศของตนนั้นเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับใดในประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. นักศึกษาควรทำความเข้าใจกับระเบียบการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยแต่ละแห่ง และควรทำความเข้าใจกับหลักสูตรวิชาที่ตนเองสมัครเรียนด้วย เพราะในบางครั้งอาจมีระเบียบการสมัครที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น
  3. นักศึกษาควรรักษาคุณสมบัติในการสมัครเข้าเรียนให้เพรียบพร้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนักศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้โดยการพบปะพูดคุยกับอาจารย์ฝ่ายแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่ออย่างเป็นประจำ
  4. อาจารย์ฝ่ายแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่อจะสามารถบอกนักศึกษาได้ว่านักศึกษาควรจะใช้เวลาปีหรือสองปีในการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ เนื่องจากว่ารัฐบาลและนายจ้างในบางประเทศจะไม่ยอมรับนักศึกษาที่ได้รับวุฒิการศึกษามาจากประเทศอเมริกา แต่นักศึกษามีคุณสมบัติไม่เพียงพอตามระเบียบการไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศของตน
ปีการศึกษา
             ปฏิทินการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายนและดำเนินการเรียนการสอนต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน นักศึกษาใหม่ส่วนมากจะเริ่มต้นการศึกษาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติในการเริ่มต้นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของตนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น นักศึกษาทุกคนกำลังเริ่มต้นการศึกษาใหม่เหมือนกันหมด และกำลังปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ของการเป็นนักศึกษา นักศึกษาจะสามารถพบและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ได้ในช่วงเวลานี้ได้ดีที่สุด นอกจากนั้นแล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังได้ออกแบบหลายหลักสูตรวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและดำเนินการทำการเรียนการสอนต่อไปจนถึงสิ้นปี
             หนึ่งปีการศึกษาของโรงเรียนหลายแห่งประกอบด้วยสองเทอม เรียกว่าระบบ “Semesters“(โรงเรียนบางแห่งมีสามเทอมต่อหนึ่งปีการศึกษาซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าระบบ “trimester”) นอกจากนี้ โรงเรียนบางแห่งได้รวมการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนที่เป็นหลักสูตรวิชาเลือกไว้ด้วยกันจึงแบ่งหนึ่งปีการศึกษาออกเป็นสี่เทอม โดยทั่วไปแล้ว ถ้านักศึกษาไม่ได้ลงเรียนภาคฤดูร้อน หนึ่งปีการศึกษาก็จะแบ่งออกเป็นสองเทอม (Semesters) หรือสามส่วนสี่เทอม (trimester)




ข้อมูลทั่วไป 






                  








Visitors: 260,470