DiD You Know About Exchange student

STUDENT EXCHANGE PROGRAM:

องค์กรแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ  ตอบรับนักเรียนในโครงการ ตัวแทนยุวฑูต! มีนักเรียนจำนวนไม่มากนักที่จะได้รับคัดเลือก และได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ถึงอีกฝั่งซีกโลก และก้าวเข้าสู่อีกวัฒนธรรมที่แตกต่างเป็นเวลาทั้งปี/เทอมการศึกษา สำหรับผู้ที่ก้าวเข้ามาแล้วนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีคุณสมบัติพร้อม แต่นักเรียนทำสำเร็จแล้ว! ขอให้นักเรียนวางใจและทราบว่าเรานั้นอยู่ที่นี่เพื่อดูแลและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งสามารถรับรองได้ว่านักเรียนทุกคนนั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในโครงการนี้อย่างแน่นอน

ละมากไปกว่ากระเป๋าเดินทางที่นักเรียนกำลังจัดเตรียมอยู่นั้น เราขอให้นำสิ่งเหล่านี้มาด้วย:

>> หัวใจที่เปิดรับกับทุกสถานการณ์! นักเรียนจะได้เรียนรู้และบางอย่างที่ชื่นชอบเกี่ยวกับที่นี่ และบางอย่างที่นักเรียนอาจจะไม่ชอบด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเราแนะนำให้นักเรียนนั้นไม่ไปตัดสินสิ่งที่แตกต่าง แต่ให้เก็บเกี่ยวเป็นประสบการณ์ชีวิต!

>> ทัศนคติที่ยืดหยุ่น! นักเรียนจะพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ ในทุกวัน บางสถานการณ์นักเรียนอาจจัดการได้อย่างสบาย แต่บางสถานการณ์อาจทำให้รู้สึกอึดอัดใจ  ขอให้นักเรียนเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ให้เต็มที่ และเก็บเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากวัฒนธรรมของเราไป ข้อนี้ก็เช่นกัน ให้เก็บเกี่ยวเป็นประสบการณ์ชีวิต!

>> ต้องพยายามสื่อสารกับคนรอบข้าง!  กุญแจสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้นั้นก็คือ การสื่อสาร  ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่โอกาส แต่ถือเป็นหน้าที่ของนักเรียน  ซึ่งหากนักเรียนสื่อสารด้วยความจริงใจตามความรู้สึกที่แท้จริงแล้วนั้น นักเรียนจะประสบผลสำเร็จในโครงการนี้อย่างแน่นอน

 “You Gotta Make Your Own Sunshine” ซึ่งหมายถึง เราต้องสร้างดวงดาวหรือความสำเร็จนั้นด้วยตัวของเราเอง   เราเองนั้นเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้าโครงการนี้ให้มีความสุขนั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะขึ้นอยู่กับตัวของนักเรียนเอง!

กุญแจสำคัญสู่การประสบความสำเร็จในโครงการ

ทัศนคติที่เป็นบวก

            นักเรียนจะเป็นที่จดจำได้อย่างไร และอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนน่าจดจำได้บ้าง? ในระหว่างโครงการ นักเรียนเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของประเทศบ้านเกิด และตัวแทนของ STUDENT EXCHANGE การที่นักเรียนมีทัศนคติที่ดีและคิดในแง่บวกอยู่ตลอดเวลาจะเป็นสิ่งหนึ่งที่มีส่วนช่วยอย่างมาก ต่อการเข้าร่วมโครงการ  การวิพากษ์วิจารณ์ในสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องที่จะพบเจอได้ง่าย คนอเมริกันจะต่อว่าผู้คนหากพวกเขาไม่น่าประทับใจ นักเรียนจึงควรที่จะมีใจที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม การเมือง ศาสนา วิถีชีวิต และอื่นๆ อีกมากมาย และนี่จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หลายสิ่งในขณะพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา

 ความเป็นผู้ใหญ่

          มื่อนักเรียนได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในสหรัฐอเมริกา นักเรียนจะต้องพบเจอกับเรื่องที่ท้าทายหลายอย่างด้วยกัน และสถานการณ์ต่างๆ ที่นักเรียนจะพบเจอนั้นจะทำให้นักเรียนเรียนรู้ มีไหวพริบ และมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนผ่านอุปสรรคและปัญหาไปได้

 ยืดหยุ่นง่าย

         นักเรียนจะเห็นว่ามีความแตกต่างหลากหลายอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอเมริกัน ซึ่งอาจไม่เหมือนกับประเทศบ้านเกิดของนักเรียนเลย  การมีความยืดหยุ่น ผ่อนปรน จะสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับความแตกต่างนี้ได้  และเรียนรู้เป็นประสบการณ์หนึ่งของชีวิตนักเรียนแลกเปลี่ยนของนักเรียน นักเรียนจะต้องปรับตัวกับหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อที่จะเข้าร่วมโครงการให้ประสบความสำเร็จ และเข้าถึงชีวิตชาวอเมริกัน

การสื่อสาร

          ในประเทศอเมริกา การเปิดใจ การสื่อสารอย่างจริงใจนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเรากล่าวถึงการเปิดใจ และจริงใจนั้น เราไม่ได้หมายถึงให้แสดงการโกรธออกมาอย่างจริงใจ หรือการแสดงออกมาซื่อๆ แต่เราแบ่งปันความคิด และความรู้สึก ทั้งสองด้านไม่ว่าสุขหรือเศร้าออกมา นักเรียนจะพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ดีขึ้น  อย่ากลัวที่จะให้ใครบางคนรู้และเข้าใจถึงปัญหาที่เรามี ก่อนที่ปัญหานั้นจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่แก้ไขไม่ได้  การสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติกับครอบครัวอุปถัมภ์นั้นจะช่วยได้มากในเรื่องของการกระชับความสัมพันธ์ให้นักเรียนได้รับความสนิทสนมมากขึ้น และช่วยให้นักเรียนไม่คิดถึงประเทศบ้านเกิดตนเองมากนัก หรือที่เรียกว่า home sick การเขียนจดหมาย/อีเมลล์ ถึงครอบครัวที่ประเทศไทยซักสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอ และการจำกัดการโทรศัพท์ควรโทรกลับบ้านแต่พอสมควร อาจจะครั้งหรือสองครั้งต่อเดือนเท่านั้น

 การมีมารยาทและการยกย่องให้เกียรติ  

         นักเรียนควรจะแสดงความพึงพอใจและขอบพระคุณต่อครอบครัวอุปถัมภ์ เจ้าหน้าที่โครงการ โรงเรียน และเพื่อนๆ อยู่เสมอ  คำว่า “Please” และ “Thank you” เป็นคำที่สำคัญมาก นักเรียนต้องจำไว้ว่าครอบครัวอุปถัมภ์นั้นเป็นอาสาสมัครที่จะรับนักเรียนไปดูแล และสิ่งที่นักเรียนจะสามารถตอบแทนได้ก็คือการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  นักเรียนอาจจะแสดงความรู้สึกโดยการเขียนโน้ตขอบคุณเล็กๆ ให้กับครอบครัวอุปถัมภ์ หรือให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ การแสดงออกเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่ได้รับรู้สึกดี และเข้าใจว่าเรานั้นพึงพอใจจะรู้สึกขอบพระคุณ  และนักเรียนควรกระตือรือร้นในการแจ้งข่าว บอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอยู่เสมอว่าเราอยู่ที่ไหน จะไปไหน ไปกับใคร จะกลับเมื่อไหร่ และต้องโทรศัพท์มาบอกทันทีหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น

 นิสัยใจคอที่ดี

          นักเรียนควรพัฒนานิสัยและความประพฤติของตนเองอยู่เสมอในขณะที่พักอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ และแม้กระทั่งการพบเจอเพื่อนใหม่ๆ การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นั้นก็จะสามารถช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงได้

การมีส่วนร่วม

          นักเรียนควรให้ความสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอยู่เสมอ ทั้งกับครอบครัวอุปถัมภ์ของนักเรียนและกับโรงเรียน  นักเรียนสามารถเป็นผู้เข้าหาก่อนได้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาจจะเป็นการช่วยทำงานบ้าน หรืองานอื่นๆ ที่โรงเรียน  หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างเพื่อนใหม่ๆ คือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มเพื่อนนั้นๆ เช่นกลุ่มทีมกีฬา กลุ่มชมรม หรืองานสังคมอื่นๆ



 

*** It's not good. It's not bad. It's just different. ***

ชีวิตประจำวันของนักเรียนระหว่างเข้าร่วมโครงการและพักอาศัยอยู่กับโฮส มีคำแนะนำดังนี้: 

ถ้านำสิ่งใดออกมา ต้องเก็บเข้าที่เดิม

ถ้าเปิดสิ่งใดแล้ว ต้องปิดเมื่อเลิกใช้

ถ้าปลดล็อคสิ่งใดแล้ว ต้องล็อคกลับเข้าที่

ถ้าทำสิ่งใดแตกหักเสียหาย ต้องชดใช้ใหม่

ถ้าทำสิ่งใดไม่เป็น อย่าลองทำเอง ให้ถามผู้ที่รู้

ถ้ามีสิ่งใดพังเสียหาย อย่าซ่อมเอง ให้ผู้ที่สามารถซ่อมได้ทำ

ถ้าไม่มีสิ่งใดชำรุด อย่าพยายามไปซ่อมแซมเพิ่ม

ถ้าต้องการขอยืมสิ่งใด ให้ขออนุญาติทุกครั้ง

ถ้าขอยืมสิ่งใดไป ให้นำมาคืนทุกครั้ง

ถ้ามีของมีค่า ให้เก็บรักษาให้ดี

ถ้าทำสิ่งใดเลอะเทอะ หรือรกรุงรัง ให้เก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อย

ถ้านำสิ่งของไปใช้ที่ไหน ให้นำมาไว้ที่เดิม

ถ้าพูดแล้วทำให้คนรู้สึกดี จงพูดออกไป

ถ้าเราทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี จงเป็นผู้กล่าวขอโทษก่อน โดยการพูดว่า

 “I’m sorry. Let’s talk things out.” (ฉันขอโทษ เรามาเปิดใจคุยกันเถอะ)

ถ้ามีคนอื่นทำให้เรารู้สึกไม่ดี จงเป็นผู้เข้าหาเขาก่อน โดยการพูดว่า

 “Let’s talk things out." (เรามาเปิดใจคุยกันเถอะ)

 




    

                        

          

 

   

 

Visitors: 260,923